วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"ติวราม" อีกหนึ่งทางเลือกของกระบวนการเรียน

ดังที่ผมได้กล่าวไปในบทความก่อน ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นการจัดการตัวเอง ให้มีความพร้อม และลงตัวอย่างพร้อมเพรียงกัน ทั้งการทำงาน การเรียน หรือแม้กระทั่งชีวิตส่วนตัว  ผมเองก็อยากให้ผู้อ่านบล็อกที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ทุกท่านเนี่ย ได้ลองมีโอกาสหยุดคิด หยุดทบทวนเกี่ยวกับตัวเสียก่อน ว่าทุกคนนั้น "รู้จักตัวเอง" มากน้อยเพียงใด

บางทีคนเราก็อาจจะไม่ได้เก่งไปเสียทุกเรื่อง รูปแบบชีวิตอาจจะไม่สอดคล้องกับหลักที่ควรจะเป็น ทั้งนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกคนควรจะมีทางออกให้สำหรับตัวเอง "ถ้ายังอยากเรียนจบ" 


บทความหลาย ๆ บทความก่อนหน้านี้ที่ผมได้เขียนไป อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการตัวเองเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการแบ่งเวลาให้กับตัวเอง หรือระบบที่ได้แนะนำจนเป็นประโยชน์ ก็คือ ระบบเรียนรามออนไลน์ หรือเรียนรามผ่านเน็ต 
ภาพตัวอย่าง ที่ทำให้เห็นจินตนาการ ของการ"ติวราม"
มาคราวนี้คงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่เรียน มอง ๆ ดูแล้ว กลุ่มที่จะคิดว่าจะ "ติวราม" คงเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีเวลาจริง ๆ หรืออาจจะเป็นกลุ่มคนต้องการความรวบรัด ชัดเจน ในการเรื่องของการเรียนมาก ๆ ประมาณว่า "ติวไม่ถึงเดือน ก็สอบได้แล้ว" 


ผมเองไม่อยากให้ทุกคนคิดแบบ ขอไปที อยากให้ทุกคนคิดว่า "การที่เราเลือกติว เราอยากได้ประเด็นแบบรวบรัด และเข้าใจง่าย" เพราะการติวก็เหมือนการเรียน วิธีหนึ่ง แต่ตัวเราเองนั้นก็ต้องอ่าน ต้องทำความเข้าใจมาก่อน เมื่อติวแล้ว จะได้เป็นคนที่เข้าใจง่าย ตรงจุด

ผมอยากจะยกตัวอย่างสักกรณีหนึ่งก็แล้วกัน อย่างเช่นผมต้องการติว MA 113 หรือ แคลคูลัสสำหรับธุรกิจ 1 แต่ผมลองนึกย้อนกลับไปในอดีต ผมเป็นเด็กที่เกเรมาก เรียนไม่รู้เรื่องเลย โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ ทำได้อย่างมากก็แค่ บวก ลบ คูณ หาร แต่หลักการทางคณิตศาสตร์มีต้องหลายเรื่อง เช่นสมการ สแควร์รูท ฯลฯ จากนั้นพอจบ ม.3 ผมก็ไปเรียนต่อในระดับ ปวช. จำได้ว่าตอนเรียน ปวช. เนี่ยผมไม่มีคณิตศาสตร์แบบ ม.ปลาย ให้เรียนแล้ว มีแต่คณิตศาสตร์ ม.2 ม.3 เดิม ที่นำมาให้ทบทวนใหม่

และจู่ ๆ พอผมจบ ปวช.3 มาต่อ ปริญาตรี สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง พอดูกระบวนวิชาที่จะต้องเรียนแล้ว กลับมีคณิตศาสตร์สองเล่มอย่างต่ำ ๆ ก็คือ MA 113 แคลคูลัสสำหรับธุรกิจ1 และ ST 206 สถิติธุรกิจ ผมก็อาจจะมีความกังวลเล็กน้อยว่าจะเรียนอย่างไรให้เข้าใจ

ทางออกที่ดีที่สุึด คือกลับไปปรับพื้นฐานให้กับตัวเองก่อน ตั้งแต่ในระดับ ม.1 ม.2 ม.3 และนำหนังสือคณิตศาสตร์ ของ ม.ปลาย มาทำึึความเข้าใจ นำโจทย์มาฝึกเขียน ฝึกทำ ผมคิดว่าไม่เกินความสามารถ ผมจะต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อย่างแคลคูลัส ได้อย่างเข้าใจ  เพราะว่าพื้นฐานผมเริ่มแน่นแล้ว

จากนี้ผมก็เข้ามาพูดถึงกระบวนวิชาคณิตศาสตร์ของราม พอเรามีพื้นฐานการเรียนที่แน่นแล้ว เราอาจจะเสริมความแน่นโดยการ "ติวราม" วิธีก็จะประมาณ "อ่านก่อนติว ติวเสร็จทบทวนทำโจทย์" ซึ่งการติวรามเนี่ย เราอาจจะพบวิธีการคำนวณ หรือเราอาจจะพบสูตรการเรียนที่ดีกว่า ในวิชานั้น ๆ ก็ไ้ด้ ซึ่งทำให้เราทำข้อสอบได้เหมือนกัน

ดังนั้น ติวราม ก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่มีเวลาจริง ๆ หรือคนที่ต้องการความแน่นของรายกระบวนวิชานั้น ๆ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการติวเหมือนกัน ส่วนเรื่องสถานที่ติวผมไม่เอ่ยถึงก็แล้วกันนะครับ ลองถาม ๆ คนรู้จัก หรือรุ่นพี่ดู ว่าวิชา แต่ละวิชา ติวของอะไรดี สถาบันติวที่ไหน สามารถทำให้เราเข้าใจง่าย ได้บ้าง


ดังนั้น เกรด G ทุกคนครับ ชาวติวราม ผมเองถ้าเหลือความสามารถของเราจริง ๆ ก็จะไปติวเหมือนกันหล่ะครับ โชคดีครับ ทุก ๆ คน

1 ความคิดเห็น: