วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สักวันหนึ่ง ฉันจะย้อนกลับมาอีกครั้ง

สวัสดีครับ ... ท่านผู้อ่านทุกท่าน ดูเหมือนว่าบล็อกนี้ จะเป็นบล็อกที่ไร้สาระ มากกว่าจะเป็นบล็อกที่มีสาระนะครับ อิอิ เดิมทีผมตั้งใจที่จะสร้างสรรค์บล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อสรุปรายวิชาสำหรับการสอบของตัวเองในแต่ละครั้ง แต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้ ตามที่ผมตั้งใจไว้

ด้วยชีวิตที่ค่อนข้างเปี่ยมไปด้วยปัญหาจุกจิก ต่าง ๆ มากมาย ทำให้ผมจำเป็นที่จะต้องทุ่มเวลาไปจัดการส่วนอื่น ๆ ที่สำคัญ ๆ เสียก่อน อย่างไรก็ตามผมจะย้อนเขียนให้ ในเทอม 2/2554 นะครับ

ขอลาตัวไปอ่านหนังสือ เตรียมสอบก่อน แล้วสักวันหนึ่งในเทอมต่อไป ผมจะกลับมา "ชะแว๊ปปป"

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การบัญชีคืออะไร?

การบัญชีเป็นศิลปะของการเก็บรวบรวมจดบันทึกรายการ หรือเหตุการณ์ทางการเงิน ไว้ในรูปแบบของเงินตรา การจัดหมวดหมู่ ของรายการเหล่านั้น สรุปผล พร้อมทั้งตีความหมายของรายงานทางการเงินเหล่านั้น

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใกล้สอบ ม.ราม กันแล้ว เตรียมตัวให้ดีครับ

สวัสดีครับ หลังจากที่ผมห่างหายจากการเขียนบทความเข้าบล็อกไปนาน วันนี้กลับมาอีกทีก็อยากจะบอกเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงทุก ๆ ท่านเลย

ช่วงนี้หลาย ๆ คนลงสอบ E-Testing (ผมไม่ได้ลงครับ) ก็คงจะเตรียมตัวกันแบบสุด ๆ ไปเลย ขอให้จัดเวลาการเรียนให้ดีครับ หลาย ๆ คนทำงานไปด้วย ก็คงจะเลือกที่จะไปติวบ้าง เป็นบางส่วน

ยังไงก็ขอให้โชคดี เกรด G ทุกท่านเลยครับ บล็อกนี้ผมจะอัดเนื้อหามาให้อ่านกันอีกทีนะครับ ขอตัวไปอ่านหนังสือก่อน

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"ติวราม" อีกหนึ่งทางเลือกของกระบวนการเรียน

ดังที่ผมได้กล่าวไปในบทความก่อน ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นการจัดการตัวเอง ให้มีความพร้อม และลงตัวอย่างพร้อมเพรียงกัน ทั้งการทำงาน การเรียน หรือแม้กระทั่งชีวิตส่วนตัว  ผมเองก็อยากให้ผู้อ่านบล็อกที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ทุกท่านเนี่ย ได้ลองมีโอกาสหยุดคิด หยุดทบทวนเกี่ยวกับตัวเสียก่อน ว่าทุกคนนั้น "รู้จักตัวเอง" มากน้อยเพียงใด

บางทีคนเราก็อาจจะไม่ได้เก่งไปเสียทุกเรื่อง รูปแบบชีวิตอาจจะไม่สอดคล้องกับหลักที่ควรจะเป็น ทั้งนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกคนควรจะมีทางออกให้สำหรับตัวเอง "ถ้ายังอยากเรียนจบ" 


บทความหลาย ๆ บทความก่อนหน้านี้ที่ผมได้เขียนไป อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการตัวเองเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการแบ่งเวลาให้กับตัวเอง หรือระบบที่ได้แนะนำจนเป็นประโยชน์ ก็คือ ระบบเรียนรามออนไลน์ หรือเรียนรามผ่านเน็ต 
ภาพตัวอย่าง ที่ทำให้เห็นจินตนาการ ของการ"ติวราม"
มาคราวนี้คงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่เรียน มอง ๆ ดูแล้ว กลุ่มที่จะคิดว่าจะ "ติวราม" คงเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีเวลาจริง ๆ หรืออาจจะเป็นกลุ่มคนต้องการความรวบรัด ชัดเจน ในการเรื่องของการเรียนมาก ๆ ประมาณว่า "ติวไม่ถึงเดือน ก็สอบได้แล้ว" 


ผมเองไม่อยากให้ทุกคนคิดแบบ ขอไปที อยากให้ทุกคนคิดว่า "การที่เราเลือกติว เราอยากได้ประเด็นแบบรวบรัด และเข้าใจง่าย" เพราะการติวก็เหมือนการเรียน วิธีหนึ่ง แต่ตัวเราเองนั้นก็ต้องอ่าน ต้องทำความเข้าใจมาก่อน เมื่อติวแล้ว จะได้เป็นคนที่เข้าใจง่าย ตรงจุด

ผมอยากจะยกตัวอย่างสักกรณีหนึ่งก็แล้วกัน อย่างเช่นผมต้องการติว MA 113 หรือ แคลคูลัสสำหรับธุรกิจ 1 แต่ผมลองนึกย้อนกลับไปในอดีต ผมเป็นเด็กที่เกเรมาก เรียนไม่รู้เรื่องเลย โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ ทำได้อย่างมากก็แค่ บวก ลบ คูณ หาร แต่หลักการทางคณิตศาสตร์มีต้องหลายเรื่อง เช่นสมการ สแควร์รูท ฯลฯ จากนั้นพอจบ ม.3 ผมก็ไปเรียนต่อในระดับ ปวช. จำได้ว่าตอนเรียน ปวช. เนี่ยผมไม่มีคณิตศาสตร์แบบ ม.ปลาย ให้เรียนแล้ว มีแต่คณิตศาสตร์ ม.2 ม.3 เดิม ที่นำมาให้ทบทวนใหม่

และจู่ ๆ พอผมจบ ปวช.3 มาต่อ ปริญาตรี สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง พอดูกระบวนวิชาที่จะต้องเรียนแล้ว กลับมีคณิตศาสตร์สองเล่มอย่างต่ำ ๆ ก็คือ MA 113 แคลคูลัสสำหรับธุรกิจ1 และ ST 206 สถิติธุรกิจ ผมก็อาจจะมีความกังวลเล็กน้อยว่าจะเรียนอย่างไรให้เข้าใจ

ทางออกที่ดีที่สุึด คือกลับไปปรับพื้นฐานให้กับตัวเองก่อน ตั้งแต่ในระดับ ม.1 ม.2 ม.3 และนำหนังสือคณิตศาสตร์ ของ ม.ปลาย มาทำึึความเข้าใจ นำโจทย์มาฝึกเขียน ฝึกทำ ผมคิดว่าไม่เกินความสามารถ ผมจะต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อย่างแคลคูลัส ได้อย่างเข้าใจ  เพราะว่าพื้นฐานผมเริ่มแน่นแล้ว

จากนี้ผมก็เข้ามาพูดถึงกระบวนวิชาคณิตศาสตร์ของราม พอเรามีพื้นฐานการเรียนที่แน่นแล้ว เราอาจจะเสริมความแน่นโดยการ "ติวราม" วิธีก็จะประมาณ "อ่านก่อนติว ติวเสร็จทบทวนทำโจทย์" ซึ่งการติวรามเนี่ย เราอาจจะพบวิธีการคำนวณ หรือเราอาจจะพบสูตรการเรียนที่ดีกว่า ในวิชานั้น ๆ ก็ไ้ด้ ซึ่งทำให้เราทำข้อสอบได้เหมือนกัน

ดังนั้น ติวราม ก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่มีเวลาจริง ๆ หรือคนที่ต้องการความแน่นของรายกระบวนวิชานั้น ๆ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการติวเหมือนกัน ส่วนเรื่องสถานที่ติวผมไม่เอ่ยถึงก็แล้วกันนะครับ ลองถาม ๆ คนรู้จัก หรือรุ่นพี่ดู ว่าวิชา แต่ละวิชา ติวของอะไรดี สถาบันติวที่ไหน สามารถทำให้เราเข้าใจง่าย ได้บ้าง


ดังนั้น เกรด G ทุกคนครับ ชาวติวราม ผมเองถ้าเหลือความสามารถของเราจริง ๆ ก็จะไปติวเหมือนกันหล่ะครับ โชคดีครับ ทุก ๆ คน

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรียนรามผ่านเน็ต เรียนรามออนไลน์ ระบบที่จัดได้สำหรับคน "ไม่มีเวลา"

สวัสดียามเช้ามืดของวันอาทิตย์ ที่ 10 กรกฏาคม 2554 ครับ !!!! วันนี้ผมยังคงมาทำหน้าที่คล้ายดีเจ DJ คลื่นวิทยุอะไรสักอย่าง ประมาณนั้น โอ้ ... ไม่ใช่ครับ ผมมาทำหน้าที่เป็น DJ ของเว็บบล็อกเด็กการตลาด ม.ราม นี่หล่ะ อิอิ

เข้าเรื่องกันดีกว่าครับ สำหรับเรื่องนี้ ออกจะดูเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์กับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างเท่าไหร่ เช่นพนักงานออฟฟิค ทำงานแปดโมงเช้า เลิกงาน สองทุ่มอะไรประมาณนี้ คนที่มีกิจกรรมช่วงเช้า พ่อค้าแม่ค้า ทำงานหาเช้ากินค่ำ เป็นต้น

เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีก็ก้าวไกลไปหมด บางทีคนก็ตามมันไม่ทัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่มีกำลัง และความรู้มากพอที่จะใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต ใช่แล้วครับ ผมกำลังกล่าวถึงเรื่องราวการเรียนรามผ่านเน็ต หรือถ้าจะเรียกแบบทั่วไปตามภาษาปากก็อาจจะเรียกได้ว่า เรียนรามออนไลน์ ก็ได้ครับ สรุปก็คือเป็นการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการเข้าถึงข้อมูลวีดีโอการบรรยายของแต่ละวิชา ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว ที่สำคัญเป็นการเอื้ออำนวยความสะดวก ให้สำหรับนักศึกษาที่ไม่สะดวกที่จะไปเรียนตามชั้นเรียน

ตัวอย่าง การเรียนรามผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า เรียนรามออนไลน์
ผมยกตัวอย่าง "หากคุณทำงาน 8 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น ระหว่าง 6 โมงเย็น ถึง 1 ทุ่ม คุณอาจจะทำภาระกิจ หรือกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของคุณอยู่ แล้วหลังจาก 1 ทุ่มเป็นต้นไป คุณตั้งใจไว้แล้วว่าอยากจะอ่านหนังสือ + เรียนรามผ่านเน็ต หรือ เรียนรามออนไลน์ ซึ่งสามารถดูได้ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เท่านั้น

เห็นไหมครับว่ามันช่วยให้เราทำอะไรได้สะดวกขึ้น ดีขึ้น ประหยัดเวลา อีกทั้งการเรียนรามผ่านเน็ต หรือเรียนรามออนไลน์ เนี่ย ช่วยให้เราทบทวน ในส่วนที่เราไม่เข้าใจได้ด้วย นั่นคือการกรอวีดีโอไปมา ตรงไหนไม่เข้าใจก็ Re กลับไปตรงนั้นใหม่ จนกว่าจะเข้าใจ เห็นไหมครับ ว่านี่เป็นประโยชน์เห็น ๆ

อย่างตอนปี 1 จะต้องแบกสังขารจากราม 1 นั่งรถเมล์ไปเรียนที่ ราม 2 ชีวิตช่างสิ้นเปลืองมาก ๆ บางทีถึงที่นู้นแล้ว นอนหลับในห้องเรียนก็ยังมี รู้สึกว่าไม่มีสมาธิ เพราะเราเองก็เหนื่อยจากการทำงานมากพอแล้ว แต่พอเรามาจัดระบบการเรียนในฉบับของเราใหม่อีกครั้ง ทำให้เรารู้ว่า มันมีประโยชน์กว่าเยอะ กับการที่เราจัดการชีวิต บริหารชีวิตของเราให้สอดคล้องกับเหตุการ์ณ หรือสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา

ดังนั้น เรียนรามผ่านเน็ต หรือเรียนรามออนไลน์นั้น มีประโยชน์อย่างแน่นอน ถ้าหากใครมีเวลาคลุกคลีอยู่กับอินเทอร์เน็ตบ้าง ก็จะได้เปรียบมาก ๆ เลยครับ

การวางแผนเรียนราม สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การวางแผนเรียนราม ของสาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในฉบับส่วนตัวของผมนั้น ผมวางเป้าหมายในเรื่องของ "ระยะเวลา" ในการเรียนที่ ม.ราม ก็คือ 3 ปี ครับ
โดยที่ผมมองดูจากกระบวนวิชาทั้งหมดที่เราจะต้องเรียนนั้นต้องเก็บให้ได้ทั้งหมด 134 หน่วยกิต

"เทอมหนึ่งเราลงได้ 24 หน่วยกิต แบบเต็ม ๆ"
ถ้าให้คิดก็จะราว ๆ ประมาณ 8 วิชาครับ แต่อนิจจาช่างดลใจ เทอมนี้ผมลงไปแค่ 19 หน่วยกิต รวมแล้วคือ 8 วิชาเหมือนกัน หนึ่งในนั้นคือ RU 100 ความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งเป็นวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตด้วยอะครับ เพราะตอนที่มาสมัคร ไม่มีใครคอยแนะนำว่าควรที่จะเลือกลงกระบวนวิชาอย่างไรดี ผมก็ตามใจท่านอาจารย์ที่รับสมัครผมเลยครับนั่นก็คือ "เรียนตามแผนของมหาวิทยาลัยฯ" ผมก็ อือ ๆ ออ ๆ ไปตามท่านแล้ว และไม่อยากจะปรับใหม่ เพราะที่เรียนอยู่ก็เยอะพอสมควร ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ ปรับอย่างไรสุดท้ายเราก็ต้องเรียนให้ครบทุกเล่มอยู่ดีครับ ผมเลือกแล้วค่ามันเท่ากัน

เพราะว่าจากที่ผมนับกระบวนวิชาแล้ว เราจะต้องเรียนทั้งหมดจนกว่าจะจบปริญญาตรี สาขานี้ประมาณ 49 วิชา หรือหากนับเป็นเล่ม คือ 49 เล่ม เอางี้ดีกว่าเพื่อความชัดเจน ผมว่าเราแบ่งมาอย่างงี้ดีกว่าครับ
การวางแผนเรียนราม โดยแบ่งเป็น เทอม
จากภาพข้างบนผมอธิบายหลักดังนี้ครับ ในหนึ่งเทอมเนี่ย เราสามารถลงได้ 24 หน่วยกิต  ประมาณ 8 เล่มใช่มั่ยครับ และสำหรับ Summer เราสามารถลงได้แค่ 12 หน่วยกิต หรือประมาณ 4 เล่ม ทีนี้ดูจากที่ผมวางแผนไว้ จะเห็นว่าตอนปี 1 ผมลงไม่เต็มยกเว้น Summer เพราะว่า ผมนับวิชาแล้ว เทอมที่ 2 ผมอาจจะลง 24 หน่วยกิตไม่ได้ เพราะว่ามีวิชา PE 101 กีฬาเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีเพียงแค่ 1 หน่วยกิตเท่านั้น และอาจลงได้ไม่เกิน 8 เล่ม ผมเลยทยอยลงดีกว่า อิอิ

ตามแผนที่ผมวางไว้ในรูปที่ท่านผู้อ่านบล็อกได้เห็น พอถึงเวลาจริง ๆ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนก็ได้นะครับ อาจจะสลับที่กันก็ได้ เพราะว่าอะไร เพราะผมยังไม่รู้ว่าแต่ละภาคเรียน หรือว่าในแต่ละเทอม วิชาไหนจะบรรยายในเทอมนั้นบ้าง หรือวิชาไหนที่ไม่ได้บรรยายในเทอมนั้น ๆ บ้าง อันนี้ก็ต้องคอยดูกันต่อไปครับ ส่วนรูปที่ผมวางไว้ดู ๆ แล้ว เหมือนผมวางเป้าหมายไว้ที่ 2 ปีครึ่งเลย ที่ผมเผื่อเวลาและวางเป้าหมายต้องจบภายใน 3 ปีก็เพราะว่าเผื่อเหลือเผื่อขาด วิชาที่ดูยาก ๆ และไม่ถนัดสำหรับผมอาจจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณอย่าง กระบวนวิชา MA 113 แคลคูลัสสำหรับธุรกิจ 1 และ ST 206 สถิติธุรกิจ ส่วนวิชาอื่น ๆ ผมสู้ตายฮ่าๆ ๆ ๆ ๆ  ยังไงก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ ว่าผมจะไปรอดได้แค่ไหน

ดังนั้นการวางแผนเรียนราม ของ สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาจจะดูเป็นแบบปกติทั่วไปครับ ไม่ได้แตกต่างจากคณะอื่นเท่าไหร่ เขาก็คิดวิธีเดียวกับที่เราคิดนี่หล่ะครับ สุดท้ายจริง ๆ แล้วจะวางแผนอะไรก็ตาม ก็ต้องอ้างอิงตัวเราเป็นหลักครับ ว่าชีวิตเราเป็นแบบไหน จะไหวมั่ย ผมคิดว่าถ้าเราไม่เอาเวลาไปใช้กับอย่างอื่นมากเกินไป ผมว่าจบภายใน 3 ปีแน่นอน อะไรที่ผมมั่นใจขนาดนั้น "เพราะผมตั้งใจอ่าน ขยันฝึกเขียน และนึกถึงทุกวัน" ผมเองก็อาจจะไม่ได้แตกต่างไปจากอะไรกับผู้อ่านบล็อกมากหรอกครับ "คนหาเช้ากินค่ำ" เหมือนกัน ต้องกิน ต้องอยู่ ต้องทำงาน ต้องเรียน อยู่ที่ว่าใครจริงใจกับอะไรมากกว่ากัน ผมนอนวันหนึ่งแค่ 5 ชั่วโมง - 6 ชั่วโมง ตื่น 6 โมงเช้า รีบอาบน้ำ รีบทำงาน พักเที่ยงก็ต้องรีบกินข้าว รีบทำงานต่อให้เสร็จ 5 โมงเย็นเลิกงาน ก็ไปวิ่งที่สนามกีฬาราชมัง เพราะเป็นการออกกำลังกาย ไม่เกิน 1 ทุ่มถึงบ้าน อาบน้ำต่อ แล้วเริ่มอ่านหนังสือก็จะเป็นเวลาประมาณ 2 ทุ่ม หรือ 20.00 น. เวลาทั้งหมดที่ใช้นี่ก็คือ 4 ชั่วโมงครับ ชั่วโมงแรก เราอ่านล่วงหน้าไปก่อน ส่วนชั่วโมงที่สอง และสาม ผมฟังวีดีโอ เทปคำบรรยายจาก Internet ซึ่งจะใช้เวลาในแต่ละวิชาประมาณ 2 ชั่วโมง ส่วนชั่วโมงที่ 4 คือผมทบทวน และอ่านล่วงหน้าไปพราง ๆ ก่อน คราวหน้ามาดูวีดีโอ จะได้เข้าใจ

ชีวิตผมก็จะประมาณนี้ครับ จำเป็นในเรื่องของระเบียบวินัย เพราะมันฝึกตัวเรา ให้เป็นคนที่เอาใจใส่ต่อหน้าที่

"โชคดีครับทุกคน"

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทดสอบ การอัพโหลดวีดีโอคำบรรยายย้อนหลัง


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านบล็อกทุกท่าน วันนี้ผมพยายามวางระบบภายในบล็อกของเราอยู่ ซึ่งอาจจะเกี่ยวอยู่ในหมวดหมู่ของระบบ "มัลติมีเดีย" อะไรประมาณนี้ วีดีโอตัวนี้ก็คือ วีดีโอที่ผมตัดออกมาจาก CD-DVD เทปคำบรรยายของวิชา AC 101 หลักการบัญชี1 บรรยายครั้งที่ 1 1/2554 ผมก็ลองตัด แล้วนำมาอัพโหลดดู แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ เว็บไซต์ที่บริการดูคำบรรยายย้อนหลังของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผลปรากฏหลังจากลองเปรียบเทียบดู เรื่องภาพนี่ก็ใกล้เคียงกันครับ แต่ตัวที่ผมอัพโหลดอาจจะมีความชัดกว่าเล็กน้อยเท่านั้นเอง เรื่องเสียงก็ชัดพอ ๆ กันครับ สรุปก็คือไม่แตกต่างกันมากครับ

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

AC 101 หลักการบัญชี1 ไม่ยาก แต่ต้องหมั่นฝึกบ่อย ๆ

ลิขสิทธิ์ภาพจาก http://www.smi.or.th/public/news_detail.asp?id=1108
Ac 101 หลักการบัญชี1 สำหรับวิชานี้จะเป็นวิชาสำหรับปี 1 ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นคณะบัญชี คณะการตลาด คณะการจัดการ และวิชานี้เป็นวิชาพื้นฐานครับ AC 101 วิชานี้ ผมก็เข้าฟังบรรยายในชั้นเรียนมาสักระยะ ก็เพิ่งจะถึงบางอ้อว่า เป็นเนื้อหาเดียวกันกับ ตอนที่เรียน ปวช. ปี1 ผมก็เลยรู้สึกว่าเข้าใจมากขึ้น และจับประเด็นได้ตรงกว่า

หลาย ๆ ท่านจบมาจากสายสามัญ ก็มาปรับทุกข์กับผมว่า วิชานี้ มึน และ งง มาก ๆ  ผมก็เลยบอกไปว่า อีกหน่อยก็คงจะเข้าใจครับ ถ้ามีการฝึกที่ดีพอ  ฝึกอ่านบันทึกประจำวัน ฝึกลงสมุดรายวัน ฯลฯ ตอนผมเรียน ปวช. วิชาบัญชีนี้นะครับ ถ้าขาดเรียนเพียงคาบเดียว "งง" นะครับ ผมจะบอกให้ เพราะวิชาบัญชี เป็นเรื่องของชีวิตจริง และใช้ได้จริง ถ้าเรียนแล้วไม่ต่อเนื่อง ผมรับรองได้เลยว่า ท่านต้อง "งง" อย่างแน่นอน

ยังไงวิชานี้ก็ฝึกไปเรื่อย ๆ ครับ เดี๋ยวผมอ่าน แล้วจะมาสรุปเนื้อหาอีกครั้งหนึ่ง เพราะมันไม่ยาก เพียงแต่เราต้องฝึกฝนในการทำบัญชีบ่อย ๆ นั่นเอง "AC 101 หลักการบัญชี1 ไม่ยาก แต่ต้องหมั่นฝึกบ่อย ๆ"

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรียนรามฯ คุณจะจัดการกับตัวเองอย่างไร

ภาพหนังสือจากการค้นหาใน Google รูปภาพ
สวัสดีครับ !!! ท่านผู้อ่านบล็อก "เกาะติดชีวิตเด็กการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง" ทุกท่านเลยนะครับ วันนี้ผมมีบทความมาฝาก อาจจะเป็นนอกเหนือจากวิชาการในบทเรียน แต่ก็เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับประเด็นที่ผมอยากจะเปิดในวันนี้ก็คือ "เรียนรามฯ คุณจะจัดการกับตัวเองอย่างไร" ผมนึกถึงชีวิตผู้คนที่เดินผ่านไปมาในย่าน "รามคำแหง" ที่เดินสวนกันอยู่ทุกวัน บางคนก็เพิ่งกลับจากทำงาน บางคนเพิ่งออกไปทำงาน ทำงานหามรุ่ง หามค่ำ หรือ จะหาเช้ากินค่ำ ก็มี และคนที่ไม่ได้ทำงานอะไรเลย "ก็ยังมี"

สังเกตุได้ว่า "รูปแบบในการดำเนินชีวิต" ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ผมคิดว่าผม หรือว่าคุณ ถ้าคิดจะจัดการชีวิตในเรื่องการเรียน ก็น่าจะเตรียมแผนสำหรับตัวเองให้พร้อม ... และควรจะมีความสอดคล้องกับรูปแบบชีวิตของเรา

แผนที่ผมว่าหลัก ๆ ก็คือเรื่องของแผนการจัดการบริหารเวลาในชีวิตประจำวัน ดังนั้นหาก 1 วัน มี 24 ชั่วโมง เราจะแบ่งเวลาในแต่ละวันอย่างไรบ้าง อันนี้ก็แล้วแต่ใครจะจัดการกับตัวเองได้นะครับ อย่างที่ผมบอก ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน

ประโยชน์ของการแบ่งเวลา หรือจัดการเวลาก็คือ ทำให้เราเป็นคนที่มีวินัยในตัวเอง รู้จักการคาดการ์ณของการใช้เวลาแต่ละชั่วโมง ของแต่ละกิจกรรมที่เราได้ทำ ยังไงเราก็รู้ครับ ว่าใช้เวลาในการทำกิจกรรมนี้ ควรใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ เว้ยเสียแต่ว่าเกิดเหตุการ์ณจนเราควบคุมเวลาไม่ได้เลย

ดังนั้น "เรียนรามฯ" ค่อนข้างมีความอิสระ ด้วยเหตุผลที่ว่า หลาย ๆ คณะส่วนใหญ่ ไม่ต้องไปเรียนก็ได้ อาจจะอ่านหนังสืออยู่ที่บ้าน หรือรับชมการถ่ายทอดสดจากห้องเรียนผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ก็มีหลาย ๆ ทางเลือกนะครับ ส่วนตัวผมถนัดที่จะไปขอใช้บริการไรท์ CD-DVD เทปบรรยาย ของแต่ละอาทิตย์มาดูเอง เพราะว่ามันชัดกว่าที่เราดูจาก "อินเตอร์เน็ต"

เป็นยังไงบ้างครับ พอที่จะเห็นภาพกันบ้างหรือเปล่า เมื่อเรามาเรียนรามฯแล้วการจัดการเรื่องของชีวิตก็เป็นส่วนสำคัญ ทำให้เราเดินทางได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น หรือหากว่าหลุดจากเป้าหมายแล้วก็สามารถดึงตัวเองกลับมาได้อย่างรวดเร็ว อย่างบางคนก็ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เช่นช่วงเช้าทำงาน ช่วงเย็นก็มาอ่านหนังสือสัก 3-4 ชั่วโมง ก็ถือว่าโอเคแล้วครับ

ยังไงพบกันบทความหน้านะครับ ผมจะทยอยเขียนให้อ่านกันได้เรื่อย ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันแรก ที่เลือกเรียน

ผมก็ไม่อาจที่จะบรรยายให้ท่านผู้อ่าน ได้เข้าใจอะไรมากมายนักหรอก ว่าชีวิตนี้ผมไม่พ้นถิ่นถาน ที่เรียกว่า "รามคำแหง" ผมอยู่ที่นี่มา 15 ปีได้ ... เรียกได้ว่าตั้งแต่ผมเรียนประถมต้น มัธยมตอนต้น ตลอดจนจบปวช. โรงเรียนเหล่านี้อยู่ภายใต้ ถนนรามคำแหง ทั้งสิ้น จะเป็นอะไรไป ถ้าผมจะต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยมีสถาบันที่ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยรามคำแหง" สถาบันแรกที่ผมเลือกเรียน และไม่คิดที่จะปันใจให้ที่อื่น

ผมคิดว่าผมมีเหตุผลมาก และเป็นเหตุผลที่ดีพอ ก่อนจบการศึกษาในระดับ ปวช. กลุ่มเพื่อนพ้องมากมาย เลือกที่จะต่อในระดับ ปวส. ที่เดิม และมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจ เมื่อครั้นได้เอ่ยถึงนามแห่ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้วนั้น เพื่อน ๆ มากมาย ต่างเมินหน้าหนีเรา บ้างก็บอกไม่ไหว บ้างก็บอกมันยากเกินไป

แต่ผมกลับคิดไปไกลมากกว่านั้น "ผมพยายามมองหา มหาวิทยาลัย หรือสร้างโอกาส และสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยกับการส่งเสริม ให้เราเป็นคนรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้จักบังคับตัวเอง รู้จักคำว่าระเบียบวินัย" ถ้ามองกลับไปในมุมเพื่อน เพื่อนที่มีแต่ความเฉยชา ต่อการดิ้นรนในการพัฒนาตัวเอง ก็จะบ่ายหน้าหนีออกไปจากมุมมองของเรา

ถ้าหากผมอ้างอิงกฏแห่งการใช้ชีวิต หรือกฏแห่งแรงดึงดูด เราเป็นคนอย่างไร หรือมีสภาพแวดล้อมอย่างไร ก็จะทำให้เราเป็นคนแบบนั้นไปด้วย สมมุติ เราอยู่กับคนเก่ง ๆ กับคนขยัน เราก็จะขยันตาม หรือเราอยู่กับเพื่อนที่เรื่อย ๆ ไม่มีกิจกรรมเป็นแก่นสารในทางที่ดี ก็จะทำให้เราเขว และตามเพื่อนในที่สุด

แต่สุดท้ายแล้ว ผมคงจะจบด้วยคำว่า "โทษตัวเอง" จริงครับ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าเรา สิ่งนั้นคือสิ่งภายนอก ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยประกอบ ทำให้เราตัดสินใจลงไป แต่อย่างไรสุดท้ายมันก็อยู่ที่เราเลือกที่จะไปนั่นเอง

การเรียนที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมจึงมองเห็นประโยชน์มากกว่าโทษ อย่างน้อย ๆ วัดลงไปเลยว่า "เรามีความรับผิดชอบแค่ไหน ถ้าไม่มี ก็ไม่จบ" ทุกอย่างมันสอนตัวเราเอง

ผมเลยไม่คิดที่จะปันใจให้สถาบันมหาวิทยาลัยอื่น เพราะที่นี่นอกจากจะอยู่ใกล้บ้านเราแล้ว ยังจะมีประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาตัวเราเองอีกต่างหาก ทำไมหล่ะ ที่ผมจะไม่เลือกเรียน